วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

กระเพาะอาหารเราขยายใหญ่ได้จริงไหม


กระเพาะอาหาร

                 

                       กระเพาะอาหารอยู่ทางด้านซ้ายของด้านล่างใต้กระบังลม ในสภาพไม่มีอาหารบรรจุอยู่มีปริมาตรเพียง 50 ลูกบาศก์เซนติเมตร แต่เมื่อรับประทานอาหารจะขยายได้ถึง 10 - 40 เท่า แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ฟันดัส ( Fundus) เป็นส่วนที่เป็นรูปโดมคล้ายบอลลูนนูนขึ้น บอดี้ ( Body) เป็นส่วนตรงกลางของกระเพาะอาหาร อยู่ติดต่อกับลำไส้


กระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อหูรูด (Sphincter muscle)

      กระเพาะอาหารมีกล้ามเนื้อหูรูด 2 แห่ง คือ
- Cardiac sphincter เป็นกล้ามเนิ้อคล้ายหูรูดส่วนที่ติดต่อกับหลอดอาหาร ป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในกระเพาะเคลื่อนที่ย้ายกลับขึ้นไปในหลอดอาหาร
- Pyloric sphincter เป็นกล้ามเนื้อหูรูดที่ติดต่อกับลำไส้เล็กตอนต้น ป้องกันไม่ให้อาหารที่อยู่ในกระเพาะอาหารเคลื่อนที่ลงสู่ลำไส้เล็กเร็วเกินไป

ผนังของกระเพาะอาหาร
        ผนังของกระเพาะอาหาร ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ 3 ชั้น ชั้นนอกเป็นกล้ามเนื้อเรียบตามยาว ชั้นกลางเป็นกล้ามเนื้อวงตามขวางและชั้นในสุดเป็นกล้ามเนื้อที่วิ่งทะแยงในขณะที่ไม่มีอาหารอยู่ในกระเพาะอาหาร เยื่อชั้นใน ( Mucousmembrane ) จะพับซ้อนไปมาเป็นรอยจีบย่นตามยาวมากมายเรียกว่า รูกี ( Rugae) ซึ่งเป็นประโยชน์ในการเพิ่มพื้นที่ผิวในขณะกระเพาะอาหารขยายตัว ( กระเพาะอาหารไม่มี villus )


ภายในกระเพาะอาหารมีกลุ่มเซลล์ต่อมภายในกระเพาะอาหารมีกลุ่มเซลล็ทึ่สำคัญ 4 ชนิด


- Mucous cell ทำหน้าที่ สร้างน้ำเมือก มีฤทธิ์เป็นเบสไปฉาบผิวของกระเพาะไม่ให้เป็นอันตราย
- Parietal cell หรือ ออกซินติก เซลล์ ( Oxyntic cell ) สร้างกรดไฮโดรคลอริก เข้มข้น เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร
- Chief cell หรือ ไซโกมาติก เซลล์ ( Zygomatic cell ) สร้าง มี 3 ชนิด
(1) pepsinogen ( Inactive )
(2) prorennin ( Inactive )
(3) gastric lipase


หน้าที่สำคัญของกระเพาะอาหาร มี 4 ประการ คือ - เป็นที่เก็บอาหารรอการย่อย
- เป็นอวัยวะย่อยอาหาร
- ลำเลียงอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กในอัตราที่พอเหมาะ
- ให้สารที่เรียกว่า Intrinsic factor ซึ่งจำเป็นต่อการดูดซึมวิตามิน B12 สำหรับใช้ในกระบวนการสร้างเม็ดเลือดแดง
- ดูดซึม B12 , ยา , alcohol


* การอาเจียน เกิดจากการหดตัวอย่างรวดเร็วของ กระบังลม และ เกร็งของกล้ามเนื้อหน้าท้องอย่างรุนแรงทำให้ปริมาณช่องท้องลดลงอย่างกะทันหัน ทำให้ความดันในช่องท้องลดลงอย่างรวดเร็วแต่ผิดจังหวะ เพราะหลอดลมเปิดอยู่มีกรดHCl ออกมาพร้อมกันอาจเป็นเพราะได้กลิ่นหรือเห็นภาพไม่พึงประสงค์,การกระแทกอย่างรุนแรง*

+ การที่เนื้อเยื่อด้านในของกระเพาะอาหารไม่ถูกเอนไซม์เพปซินและกรดไฮโดรคลอริกทำลาย เนื่องจาก +

1. มีสารเมือกที่มีทธิ์เป็นเบสเคลือบผนังกระเพาะช่วยป้องกันได้

2. เยื่อบุกระเพาะมีการแบ่งเซลล์ได้อย่างรวดเร็ว เป็นการสร้างเซลล์ขึ้นมาทดแทนพวกที่อาจถูกทำลายไป แต่อย่างไรก็ดี แผลใน กระเพาะอาจเกิดขึ้นได้ ถ้ามีการหลั่งกรดไฮโดรคลอริกออกมามากกว่าปกติ

                    อาหารจะคลุกเคล้าและถูกย่อยบางส่วนในกระเพาะอาหาร ทำให้มีสภาพค่อนข้างเหลว เรียกว่า (ไคม์ Chyme) แล้วกระเพาะจะบีบตัวให้อาหารผ่านกล้ามเนื้อหูรูดไพโลริกสฟิงค์เตอร์ลงสู่ลำไส้เล็กต่อไป อาหารจะอยู่ในกระเพาะ ประมาณ 3 - 4 ชั่วโมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น